วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน: กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย



การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็กและการเล่นให้เข้าด้วยกันทำให้เด็กได้เล่น รู้สึกสนุกสนานอยากเรียนรู้มากขึ้น 
การเล่นปนเรียนสำคัญอย่างไร
•  เฟรอเบล (Froebel) บิดาแห่งการอนุบาลศึกษาเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก 
• การเล่นในโลกเล็กๆของเด็กจะช่วยให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่เด็กต้องเรียนรู้ 
• เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคมโดยเฉพาะความรับผิดชอบและการสร้างวินัยในตนเองให้กับเด็ก 
องค์ประกอบสาคัญของการเล่นมี 3 ประการ
1.การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและการคิด 
2.การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม 
3.การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์

ประเภทของการเล่น 
1.การเล่นเพื่อการค้นคว้า เป็นการเล่นที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทดลองหรือหยิบจับตรวจสอบสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว ทำให้เด็กได้เรียนรู้รูปร่าง ขนาด ความละเอียดของวัตถุสังเกตความแก่ อ่อน ของสี เป็นต้น
2.การเล่นที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะทางมือ เป็นการเล่นที่เด็กนำสิ่งของต่างๆนำมาประกอบเป็นของเล่นอย่างง่ายได้กระทำนั้นทำให้เด็กได้รับความสุขความพอใจ
3.การเล่นเป็นตัวละครหรือจินตนาการ เป็นการเล่นเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจาวัน เด็กจะดัดแปลงสถานที่เล่นให้เป็นสถานที่ตามความคิดของเขาเอง และนำสิ่งต่างๆมาดัดแปลงให้เป็นไปตามความคิดของตนเอง
4.การเล่นออกกำลังกาย เป็นการเล่นที่ใช้พลังงานของร่างกาย ซึ่งเด็กที่จะมาเล่นร่วมกันต้องเคารพกฎกติกาของการเล่น เรียนรู้การแพ้การชนะ และทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนได้ดี
5.การเล่นเกมในบ้าน เป็นการเล่นร่วมกับพี่ๆน้องๆภายในครอบครัว 
6.การเล่นที่ช่วยทำให้เพลิดเพลิน จากการดู ฟัง สังเกต ฟังเพลง ฟังนิทาน จึงทำให้เกิดความเพลิดเพลินแลสนุกสนานได้
ประโยชน์ของการเล่นปนเรียนต่อเด็กปฐมวัย 
• ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่รู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก 
• ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านขบวนการค้นคว้า สำรวจ ทดลองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า 
• ช่วยให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และส่งเสริมเชาว์ปัญญาจากการเล่นปนเรียน
• ช่วยพัฒนาเด็กให้มีทักษะทางสังคม 
• ช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมง่ายยิ่งขึ้น 
• ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็ก 
• พัฒนาเด็กในด้านคุณธรรมและจริยธรรม 
• ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
ครูสามารถจัดกิจกรรมเล่นปนเรียนให้เข้ากับกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 กิจกรรมได้ ดังนี้ 
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น การเคลื่อนไหว ตามเสียงเพลง กิจกรรมเคลื่อนไหวตามท่าทางของสัตว์ เป็นต้น
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การปั้นดินน้ำมัน การวาดรูประบายสี เป็นต้น
4.กิจกรรมเสรี หรือ เล่นตามมุม เด็กได้เล่นตามมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมุติในบ้าน เด็กเล่นต่อบล็อกในมุมบล็อกเพื่อเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เรียนรู้เกี่ยวกับมิติต่างๆ เรียนรู้การชั่งน้ำหนักในมุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5.กิจกรรมกลางแจ้ง ครูจัดกิจกรรมเพื่อเด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆและส่งเสริมความสามัคคีในการเล่นกับเพื่อน
6.เกมการศึกษา เน้นการพัฒนาด้านสติปัญญา ภาษา และการคิดแบบต่างๆ เช่น ให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ เพื่อพัฒนาด้านการสังเกต เป็นต้น

เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน: กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีกา...