เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน: กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็กและการเล่นให้เข้าด้วยกันทำให้เด็กได้เล่น รู้สึกสนุกสนานอยากเรียนรู้มากขึ้น
การเล่นปนเรียนสำคัญอย่างไร
• เฟรอเบล (Froebel) บิดาแห่งการอนุบาลศึกษาเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก
• การเล่นในโลกเล็กๆของเด็กจะช่วยให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่เด็กต้องเรียนรู้
• เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคมโดยเฉพาะความรับผิดชอบและการสร้างวินัยในตนเองให้กับเด็ก
องค์ประกอบสาคัญของการเล่นมี 3 ประการ
1.การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและการคิด
2.การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
3.การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์
ประเภทของการเล่น
1.การเล่นเพื่อการค้นคว้า เป็นการเล่นที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทดลองหรือหยิบจับตรวจสอบสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว ทำให้เด็กได้เรียนรู้รูปร่าง ขนาด ความละเอียดของวัตถุสังเกตความแก่ อ่อน ของสี เป็นต้น
2.การเล่นที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะทางมือ เป็นการเล่นที่เด็กนำสิ่งของต่างๆนำมาประกอบเป็นของเล่นอย่างง่ายได้กระทำนั้นทำให้เด็กได้รับความสุขความพอใจ
3.การเล่นเป็นตัวละครหรือจินตนาการ เป็นการเล่นเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจาวัน เด็กจะดัดแปลงสถานที่เล่นให้เป็นสถานที่ตามความคิดของเขาเอง และนำสิ่งต่างๆมาดัดแปลงให้เป็นไปตามความคิดของตนเอง
4.การเล่นออกกำลังกาย เป็นการเล่นที่ใช้พลังงานของร่างกาย ซึ่งเด็กที่จะมาเล่นร่วมกันต้องเคารพกฎกติกาของการเล่น เรียนรู้การแพ้การชนะ และทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนได้ดี
5.การเล่นเกมในบ้าน เป็นการเล่นร่วมกับพี่ๆน้องๆภายในครอบครัว
2.การเล่นที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะทางมือ เป็นการเล่นที่เด็กนำสิ่งของต่างๆนำมาประกอบเป็นของเล่นอย่างง่ายได้กระทำนั้นทำให้เด็กได้รับความสุขความพอใจ
3.การเล่นเป็นตัวละครหรือจินตนาการ เป็นการเล่นเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจาวัน เด็กจะดัดแปลงสถานที่เล่นให้เป็นสถานที่ตามความคิดของเขาเอง และนำสิ่งต่างๆมาดัดแปลงให้เป็นไปตามความคิดของตนเอง
4.การเล่นออกกำลังกาย เป็นการเล่นที่ใช้พลังงานของร่างกาย ซึ่งเด็กที่จะมาเล่นร่วมกันต้องเคารพกฎกติกาของการเล่น เรียนรู้การแพ้การชนะ และทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนได้ดี
5.การเล่นเกมในบ้าน เป็นการเล่นร่วมกับพี่ๆน้องๆภายในครอบครัว
6.การเล่นที่ช่วยทำให้เพลิดเพลิน จากการดู ฟัง สังเกต ฟังเพลง ฟังนิทาน จึงทำให้เกิดความเพลิดเพลินแลสนุกสนานได้
ประโยชน์ของการเล่นปนเรียนต่อเด็กปฐมวัย
• ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่รู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก
• ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านขบวนการค้นคว้า สำรวจ ทดลองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
• ช่วยให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และส่งเสริมเชาว์ปัญญาจากการเล่นปนเรียน
• ช่วยพัฒนาเด็กให้มีทักษะทางสังคม
• ช่วยพัฒนาเด็กให้มีทักษะทางสังคม
• ช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมง่ายยิ่งขึ้น
• ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็ก
• พัฒนาเด็กในด้านคุณธรรมและจริยธรรม
• ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
ครูสามารถจัดกิจกรรมเล่นปนเรียนให้เข้ากับกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 กิจกรรมได้ ดังนี้
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น การเคลื่อนไหว ตามเสียงเพลง กิจกรรมเคลื่อนไหวตามท่าทางของสัตว์ เป็นต้น
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การปั้นดินน้ำมัน การวาดรูประบายสี เป็นต้น
4.กิจกรรมเสรี หรือ เล่นตามมุม เด็กได้เล่นตามมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมุติในบ้าน เด็กเล่นต่อบล็อกในมุมบล็อกเพื่อเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เรียนรู้เกี่ยวกับมิติต่างๆ เรียนรู้การชั่งน้ำหนักในมุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5.กิจกรรมกลางแจ้ง ครูจัดกิจกรรมเพื่อเด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆและส่งเสริมความสามัคคีในการเล่นกับเพื่อน
6.เกมการศึกษา เน้นการพัฒนาด้านสติปัญญา ภาษา และการคิดแบบต่างๆ เช่น ให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ เพื่อพัฒนาด้านการสังเกต เป็นต้น
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น การเคลื่อนไหว ตามเสียงเพลง กิจกรรมเคลื่อนไหวตามท่าทางของสัตว์ เป็นต้น
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การปั้นดินน้ำมัน การวาดรูประบายสี เป็นต้น
4.กิจกรรมเสรี หรือ เล่นตามมุม เด็กได้เล่นตามมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมุติในบ้าน เด็กเล่นต่อบล็อกในมุมบล็อกเพื่อเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เรียนรู้เกี่ยวกับมิติต่างๆ เรียนรู้การชั่งน้ำหนักในมุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5.กิจกรรมกลางแจ้ง ครูจัดกิจกรรมเพื่อเด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆและส่งเสริมความสามัคคีในการเล่นกับเพื่อน
6.เกมการศึกษา เน้นการพัฒนาด้านสติปัญญา ภาษา และการคิดแบบต่างๆ เช่น ให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ เพื่อพัฒนาด้านการสังเกต เป็นต้น
น่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบน่าอ่านมากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจค่ะ
ตอบลบเนื้อหาข้อมูลวิดีโอดีมากเลยค่ะ
ตอบลบข้อมูลน่าสนใจมากเลยค่ะ
ตอบลบข้อมูลน่าสนใจค่ะ
ตอบลบ